logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
ค้นหา
    

ค้นหาบทเรียน

กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทเรียนทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • หน้าแรก
  • บทเรียน
  • คณิตศาสตร์
  • พีชคณิตระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

พีชคณิตระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

โดย :
วีระ ยุคุณธร
เมื่อ :
วันจันทร์, 09 พฤศจิกายน 2563
Hits
1164
  • 1. Introduction
  • 2. นิพจน์เชิงพีชคณิต
  • 3. การแยกตัวประกอบ
  • 4. สมการเชิงเส้นและอสมการเชิงเส้น
  • 5. สมการกำลังสองและอสมการกำลังสอง
  • 6. นิพจน์เชิงสัดส่วน
  • - All pages -

ระบบจำนวนจริง

          พีชคณิตเป็นคณิตศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับระบบโครงสร้างกับการดำเนินการของวัตถุเชิงคณิตศาสตร์ ในบทเรียนนี้จึงเป็นการศึกษาพีชคณิตระบบจำนวนจริงในระบบมัธยมศึกษาตอนต้นประกอบด้วย 1) วัตถุหรือสัญลักษณ์ในระบบซึ่งก็คือจำนวนจริง 2) นิพจน์เชิงพีชคณิตซึ่งเป็นกลุ่มก้อนของสมาชิกในระบบ 3) การแยกตัวประกอบเสมือนการจำแนกองค์ประกอบของนิพจน์ 4) ความสัมพันธ์เส้นตรงเชิงเปรียบเทียบในรูปของประโยคสัญลักษณ์สมการและอสมการเส้นตรง และ 5) ความสัมพันธ์กำลังสองเชิงเปรียบเทียบในรูปของประโยคสัญลักษณ์สมการและอสมการกำลังสอง และ 6) ความสัมพันธ์เชิงสัดส่วน ซึ่งเป็นพื้นฐานที่สำคัญมากต่อการศึกษาคณิตศาสตร์ขั้นสูง

 10556 1

ภาพที่ 1 ระบบจำนวนจริง
ดัดแปลงจาก College mathematics and calculus with applications to management, life and social sciences, หน้า 7
ที่มา วีระ ยุคุณธร

          1.1 จำนวนจริง

          ตัวเลขเป็นสัญลักษณ์ที่มนุษย์ใช้แทนปริมาณต่างที่มีอยู่ในธรรมชาติ ในยุคเริ่มแรกเรารู้จักจำนวนที่มีลักษณะเต็มหน่วยที่เป็นปริมาณเชิงประจักษ์ในธรรมชาติ ชุดจำนวนเหล่านี้ถูกนำมารวมกันเป็นเซตเรียกว่าเซตจำนวนนับ (Natural numbers) ต่อมามีการกำหนดเลขศูนย์ และจำนวนตรงกันข้ามกับจำนวนนับ จึงเรียกจำนวนสามกลุ่มนี้ใหม่ว่า จำนวนเต็มบวก จำนวนเต็มศูนย์ และจำนวนเต็มลบ เกิดเป็นเซตจำนวนเต็ม ต่อมามีการศึกษาปริมาณเชิงสัดส่วน (Ratio) ที่เกิดจากการแบ่งในลักษณะการหารกันระหว่างจำนวนเต็ม รวมถึงการการหาผลหารที่อยู่รูปทศนิยมรู้จบ และทศนิยมไม่รู้จบชนิดทศนิยมซ้ำ เมื่อผนวกกับระบบจำนวนที่มีก่อนหน้าเราเรียกเซตจำนวนกลุ่มนี้ว่าเซตจำนวนตรรกยะ (Rational numbers) สำหรับจำนวนที่อยู่นอกเหนือจากจำนวนตรรกยะเรียกว่าเซตจำนวนอตรรกยะ ผลผนวกสุดท้ายทำให้เราได้เซตจำนวนที่เรียกว่าเซตจำนวนจริง ระบบจำนวนจริงนี้สามารถอธิบายเป็นภาพด้วยเส้นจำนวนแสดงการจัดเรียงอันดับ และการวัดระยะระหว่างตำแหน่งสองตำแหน่งเมื่อเราแทนตำแหน่งด้วยจุดบนเส้นจำนวน

1.1.1 เซตจำนวนจริง

          จากที่กล่าวมาข้างต้นเซตจำนวนนับเป็นชุดตัวเลขชุดแรกสุดที่มนุษย์สัมผัสได้ การมีอยู่ของจำนวนนับจึงเป็นสัจพจน์ เรียกว่าสัจพจน์ของเปอาโนว่าด้วยการมีอยู่ของยูนิตแทนด้วยสัญลักษณ์ 1 และพจน์ตามของ 1 (1*) แทนด้วย 2 ซึ่งมีเพียงพจน์เดียว โดยการอุปนัยเชิงคณิตศาสตร์ทำให้ได้ 3, 4, 5,… เกิดเป็นเซตจำนวนนับนั้นคือ

เซตของจำนวนนับ N = { 1, 2, 3, … }

          หากเราพิจารณาการบวกด้วย 1 จะพบว่า

          a + 1 = a* และ a + 1* = a + 1 + 1 = (a + 1)*

          พิจารณา

          3 + 2 = 3 + 1* = (3+1)* = 4* = 5

          การบวกด้วย 2 จึงเป็นการเพิ่มที่ละ 1 จำนวนสองครั้ง เป็นที่ทราบกันดีว่าการเพิ่มทำให้ปริมาณเพิ่มขึ้น และการลดทำให้ปริมาณลดลง คำถามที่น่าสนใจคือการเพิ่มที่ทำให้ปริมาณยังคงเท่าเดิม และการเพิ่มที่ทำให้ปริมาณมีค่าน้อยลงคือจำนวนใดในเซตของจำนวนนับ { 1, 2, 3, … } ซึ่งพบว่าเซตดังกล่าวไม่มีเพียงต่อการตอบคำถามว่า 1 + x = 1 แล้ว x คือจำนวนใด จึงมีการเพิ่มจำนวนศูนย์ { 0 } ซึ่งใช้อธิบายตัวบวกที่ทำให้ผลบวกยังคงมีค่าเท่าเดิมเรียกว่าเอกลักษณ์การบวก เมื่อรวม 0 เข้าในไปเซตจำนวนนับจะได้จำนวนทั้งหมด

          W = {0,1,2,…}

          สำหรับตัวเพิ่มที่ทำให้มีค่าลดลงเป็นศูนย์คือถ้า 1 + x = 0 แล้ว x เป็นจำนวนใดเราจึงสร้าง (-1) เมื่อตอบคำถามที่ว่า 1 + (-1) = 0 ในทำนองเดียวกัน 2 + x = 0 จึงมี -2 ดังนั้นสำหรับ  {1,2,3,…} จะต้องสร้างกลุ่มจำนวน

          {-1,-2,-3, ….} เป็นเซตของจำนวนตรงกันข้ามกับ {1,2,3,…}

เมื่อนำชุดตัวเลขมารวมกันจะได้ {…,-2,-1,0,1,2,…} เป็นเซตจำนวนเต็มจำแนกเป็น 3 กลุ่มได้แก่

                                    เซตจำนวนเต็ม             Z = {…,-2,-1,0,1,2,…}

                                    เซตจำนวนเต็มบวก        Z+ = {1,2,3,…}

                                    เซตจำนวนเต็มศูนย์        Z0 = {0}

                                    เซตจำนวนเต็มลบ         Z- = {-1,-2,-3,…}

          สำหรับการคูณในเซตจำนวนเต็มจะเห็นว่าไม่ว่านำจำนวนใดก็ตามสองจำนวนมาคูณกัน ผลคูณจะยังคงอยู่ในเซต แต่สำหรับการหารเราแบ่งพิจารณาเป็นการหารด้วยศูนย์ การหารด้วย 1 และ -1 และ การหารด้วยจำนวนที่เหลือ

           การหารด้วยศูนย์ไม่สามารถกำหนดค่าผลหารหรือนิยามความหมายได้ดังนั้น การหารด้วยศูนย์จึงไม่นิยาม ในระบบพีชคณิตเราจะเรียกพจน์ที่มีการหารด้วย 0 ว่า พจน์ที่ไม่นิยาม (undefined term)

          การหารด้วยหนึ่งจะทำให้จำนวนเดิมดังนั้นชุดจำนวน {…,-2,-1,0,1,2,…} เพียงพอสำหรับการหาผลหารด้วย 1 รวมไปถึง -1 ด้วยซึ่งจะทำให้เกิดผลลัพธ์เป็นจำนวนตรงกันข้าม

การหารด้วยจำนวนอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ -1, 0 และ 1 จะทำให้เกิดจำนวนชนิดใหม่ที่ไม่ใช่จำนวนเต็ม นิยามเขียนแทนด้วยเศษส่วนเช่น 1/2 , 5/3, -7/6 เป็นต้น หากเราใช้วิธีการตั้งหารยาวเปลี่ยนเศษส่วนเป็นทศนิยมจะพบว่าผลหารจะอยู่ในรูปของทศนิยมรู้จบ และทศนิยมไม่รู้จบชนิดทศนิยมซ้ำ

จะเห็นว่า Z = {…,-2,-1,0,1,2,…} สามารถเขียนได้ในรูปเศษด้วยโดยการหารด้วย 1 เมื่อผนวกเข้าเศษส่วนที่เกิดจากการนำจำนวนเต็มหารจำนวนเต็มเราจะได้ชุดจำนวนที่แสดงสัดส่วนเรียกว่าจำนวนตรรกยะ

          จำนวนตรรกยะ Q = { a/b , a และ b เป็นจำนวนเต็ม โดยที่ b ไม่เป็นศูนย์ }

ข้อสังเกตของจำนวนตรรกยะคือจำนวนที่มีค่าเท่ากับ 1/2 มีได้หลายค่าเช่น 2/4, -3/6 เป็นต้นแต่อย่างไรก็ตามหากพิจารณาเศษส่วนอย่างต่ำนั้นจะเขียนได้เพียงแบบเดียวนั้นคือ a/b จะเป็นเศษส่วนอย่างต่ำเมื่อตัวหารร่วมมากของ a และ b มีค่าเท่ากับ 1

          อย่างไรก็ตามยังมีจำนวนอื่น ๆ ที่อยู่น้องเหนือจากจำนวนตรรกยะเช่นในทฤษฎีพิธากอรัสถ้าเราวาดสามเหลี่ยมมุมฉากที่มีด้านประกอบมุมฉากยาวด้านละหนึ่งหน่วยเมื่อวัดความยาวด้านตรงข้ามมุมฉากเราไม่สามารถระบุขนาดที่แจ่มชัดได้ อีกนัยนึงสังเกตได้ว่าหากเราพิจารณา

          x2 = 0 เราจะพบว่า x = 0

          x2 = 1 เราจะพบว่า x = -1 หรือ x = 1

         x2 = 2 เราจะพบว่า ด้วยระบบจำนวนตรรกยะไม่สามารถตอบคำถามนี้ได้

         x2 = 3 เราจะพบว่า ด้วยระบบจำนวนตรรกยะไม่สามารถตอบคำถามนี้ได้เช่นกัน

        x2 = 4 เราจะพบว่า x = -2 หรือ x = 2

       พบว่าถ้า x2 = 0, 1, 4, 9, 16, … จะมีจำนวนตรรกยะที่เป็นคำตอบของ x แต่หากพิจารณา x2 = 2, 3, 5 เป็นต้นเราจะต้องสร้างจำนวนเรียกว่า กรณฑ์ ซึ่งเท่ากับเป็นจำนวนสำหรับตอบคำถาม x2 = 2 นอกจากนี้ยังมีปริมาณอื่นเช่น ค่าพาย และ ค่า e ซึ่งเป็นชุดตัวเลขนอกเหนือจากจำนวนตรรกยะเรียกว่า อตรรกยะเขียนแทนด้วย Qc

10556 1 1

                เราจึงรวมเซตของจำนวนตรรกยะและอตรรกยะเข้าด้วยกันเรียกว่าจำนวนจริง ( R )

1.1.2 การเปรียบเทียบระหว่างจำนวน

          ในระบบจำนวนจริงหากเราใช้ 0 เป็นจำนวนเปรียบเทียบกับจำนวนจริงที่เหลือจะแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มคือจำนวนจริงบวกซึ่งเป็นจำนวนจริงที่มากกว่า 0 และ จำนวนจริงลบหมายถึงจำนวนจริงที่น้อยกว่า 0 จะพบว่า

จำนวนจริงลบ < 0 < จำนวนจริงบวก

นั้นคือจำนวนจริงบวกมีค่ามากกว่าจำนวนจริงลบทุกจำนวน

          การเปรียบเทียบจำนวนจริงบวกกับจำนวนจริงบวก จำนวนจริงบวกที่อยู่ห่างจากศูนย์มากกว่าจะมีค่ามากว่าเช่น 4 อยู่ห่าง จาก 0 มากกว่า 3 ดังนั้น 4 > 3 เมื่อพิจารณาผลลบจะเห็นพบว่า

                                                4 > 3 แล้ว 4 – 3 > 0

                                                3 < 4 แล้ว 3 – 4 < 0

กรณีเปรียบเทียบจำนวนจริงลบกับจำนวนจริงลบจะได้ผลในทิศทางตรงกันข้ามกล่าวคือ จำนวนจริงลบที่ห่างจากศูนย์มากกว่าจะมีค่าน้อยกว่าเช่น (-4) อยู่ห่าง จาก 0 มากกว่า (-3) ดังนั้น -4 < -3 เมื่อพิจารณาผลลบจะเห็นพบว่า

                                                (-4) < (-3) แล้ว -4 – (-3) = (-4) + 3 < 0

(-3) > (-4) แล้ว -3 – (-4) = (-3) + 4 > 0

นอกจากนี้หากเราพิจารณาจำนวนสองจำนวนที่เท่ากันเราจะพบว่าผลลบมีค่าเท่ากับ 0 นั้นคือ

                                                4 = 4 พบว่า 4 – 4 =  0

การเปรียบเทียบจำนวนระหว่างสองจำนวนจึงสามารถเปรียบเทียบโดยใช้ผลลบได้ดังนี้

                                                a < b แล้ว a – b < 0

                                                a > b แล้ว a – b > 0

                                                a = b แล้ว a – b = 0

สรุปได้ตามกฏ trichotomy ที่กล่าวไว้ว่า เมื่อเปรียบเทียบจำนวนจริงใด ๆ 2 จำนวน a และ b แล้วผลการเปรียบเทียบเป็นไปได้ว่า a < b หรือ a > b หรือ a = b อย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนั้นในกรณีที่พิจารณาจำนวนที่ไม่มากกว่าจึงเป็นไปได้ 2 อย่างคือ น้อยกว่า หรือ เท่ากัน

1.1.3 เส้นจำนวน

          การสร้างตัวแทนเซตจำนวนจริงนั้นอาจใช้เส้นจำนวนแสดงเซตจำนวนจริงทั้งหมดโดยที่มี 0 เป็นสมาชิกแบ่งกั้นจำนวนจริงบวกและจำนวนจริงลบ

          เส้นจำนวนที่ใช้แทนจำนวนเต็มแสดงได้ดังรูปที่ 3 มีการจัดเรียงลำดับจากน้อยไปมากและระยะห่างระหว่างจำนวนที่อยู่ติดกันมีค่า 1 หน่วย

10556 3

รูปที่ 3 จำนวนเต็มบนเส้นจำนวนจริง
ที่มา วีระ ยุคุณธร

รูปที่ 4 จำนวนตรรกยะ 3/4 แสดงได้โดยการแบ่งระยะห่างระหว่าง 0 และ 1 ออกเป็น 4 ส่วนและค่าในตำแหน่งที่ 3 มีค่าเท่ากับ 3/4  รูปที่ 5 เป็นการระบุตำแหน่งของจำนวน -1.875 = -1 - 7/8 นั้นคือแบ่งระยะระหว่าง -2 และ -1 ออกเป็น 8 ส่วนค่าในตำแหน่งที่ 7 ที่ห่างจาก -1 จะมีค่าเท่ากับ -1.875 ดังที่แสดงไว้ในรูปที่ 5

10556 4

รูปที่ 4 ตำแหน่งจำนวนตรรกยะ 3/4 บนเส้นจำนวนจริง
ที่มา วีระ ยุคุณธร

10556 5

รูปที่ 5 ตำแหน่ง -1 7/8 บนเส้นจำนวนจริง
ที่มา วีระ ยุคุณธร

          สำหรับจำนวนอตรรกยะที่เป็นค่ากรณฑ์สามารถแสดงโดยใช้ทฤษฎีบทพิธากอรัสดังรูปที่ 6 ตัวอย่างเช่น กรณฑ์ของ 2 สามารถระบุตำแหน่งได้จากการสร้างสามเหลี่ยมมุมฉากที่มีด้านประกอบมุมฉากยาวด้านละ 1 หน่วย จากนั้นสร้างส่วนโค้งวงกลมที่มีรัศมีเท่ากับความยาวด้านตรงข้ามมุมฉากตัดกับเส้นจำนวนจริง ระยะจากศูนย์ไปยังจุดตัดจะมีค่าเท่ากับความยาวด้านตรงข้ามมุมฉากคือกรณฑ์ของ 2

10556 6 1

รูปที่ 6 ตำแหน่ง กรณฑ์ของ 2 บนเส้นจำนวนจริง
ที่มา วีระ ยุคุณธร

          อย่างไรก็ตามการวัดระยะทางบนเส้นจำนวนจริงนั้นระยะทางมีค่าเป็นบวกเสมอ นั้นคือหากเราวัดระยะทางระหว่าง 3 และ 5 จะมีค่าเท่ากับ ระยะทางระหว่าง 5 และ 3 แม้ว่าผลลบจะได้ -2 และ 2 ตามลำดับ เราจึงนิยามขนาดระยะทางด้วยสัญลักษณ์ค่าสัมบูรณ์ โดยนิยามว่าค่าสัมบูรณ์ของ a เขียนแทนด้วย |a| คือ ระยะทางระหว่าง 0 และ a อาจเขียนได้ว่า

|a| = |a – 0| = |0 – a| = |-a|

          สอดคล้องกับความเป็นจริงที่ว่าระยะห่างระหว่าง a กับ 0 เท่ากันกับระยะห่างระหว่าง –a และ 0 พิจารณาข้อสังเกตุเกี่ยวกับค่าสัมบูรณ์เพื่อนำไปสู่นิยามเขิงพีชคณิต

          ขัอสังเกตที่ 1 ถ้า a เป็นจำนวนบวก (a > 0) จะได้ว่า |a| เป็นค่าบวก นั้นคือ |a|ร = a

          ข้อสังเกตที่ 2 ถ้า a เป็นจำนวนลบ (a < 0) จะได้ว่า |a| ยังคงเป็นค่าบวกที่ตรงข้ามกับ a ดังนั้น |a| = -a

          จากข้อสังเกตทั้งสองข้อเราสรุปเป็นนิยามได้ดังนี้

                           |a| = a ถ้า a > 0 และ |a| = -a ถ้า a < 0

          หากใช้นิยามข้างต้นขยายนิยามเป็นระยะทางระหว่างจุด a และ b จะได้ว่า

                           |a - b| = a – b ถ้า a - b > 0 และ |a – b| = - (a - b) ถ้า a - b < 0

          เพื่อความสะดวกในการประยุกต์ใช้เราควรเรียบเรียงข้อสังเกตใหม่ดังนี้

                          |a - b| = a – b ถ้า a > b และ | a – b | = b - a ถ้า b > a

แหล่งที่มา

Skvarcius R., Robinson W.B. (1986). Discrete mathematics with computer science applications. The Benjamin/Cummings Publishing Company.

 


Return to contents

          เราจะศึกษาพีชคณิตที่ถูกสร้างขึ้นบนเซตจำนวนจริง ก่อนอื่นเราต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับคำศัพท์ซึ่งเป็นข้อตกลงเพื่อให้ทุกคนที่ศึกษาพีชคณิตเข้าใจตรงกัน เมื่อกล่าวถึง นิพจน์เชิงพีชคณิต หมายถึง กลุ่มของตัวแปรและค่าคงที่ที่ดำเนินการด้วยการบวก ลบ การคูณ การหารด้วยตัวหารที่ไม่เป็นศูนย์ การยกกำลัง กรณฑ์ เป็นต้น โดยที่ ค่าคงที่ แทนปริมาณที่แทนได้ด้วยจำนวนจริงเพียงค่าเดียว และเรานิยามศัพท์คำว่า ตัวแปร แทนจำนวนจริงที่เป็นไปได้ซึ่งมีเพียงค่าเดียวหรือหลายค่าก็ได้ นิพจน์ที่เขียนในรูปการบวกมากกว่า 1 พจน์โดยจำนวนพจน์นั้นขึ้นกับการบวก นิพจน์ที่อยู่ในรูปการคูณของตัวแปรหรือค่าคงที่หรือนิพจน์ย่อยเราเรียกส่วนประกอบของนิพจน์นี้ว่าตัวประกอบ

10556 6
ที่มา ดัดแปลงจาก https://pixabay.com, geralt

          1.2.1 ตัวอย่างการวิเคราะห์นิยามศัพท์

          ค่าคงที่ หมายถึงปริมาณที่แทนด้วยจำนวนจริงเพียงจำนวนเดียวเช่น 2, -3, e, pi, 1.7 เป็นต้น

          ตัวแปร หมายถึงปริมาณที่สามารถแทนได้ด้วยจำนวนจริงมากกว่าหรือเท่ากับ 1 ค่าเช่น

          กำหนดให้ x แทนจำนวนเต็มคู่ที่ซึ่งมากกว่า 0 นั้นคือ x = { 2, 4, 6, … }

          กำหนดให้ y แทนจำนวนจริงที่มากว่า -3 แต่ น้อยกว่า 7 นั้นคือ -3 < y < 7

          กำหนดให้ z เป็นจำนวนที่บวกกับ 3 แล้วเท่ากับ 7

จำนวนพจน์ นิพจน์นั้นเขียนในรูปผลคูณของค่าคงที่หรือตัวแปรหรือนิพจน์จะถูกนับเพียงพจน์เดียวและเรียกตัวคูณแต่ละตัวว่าตัวประกอบเช่น

          นิพจน์ 2ab นับเป็น 1 พจน์มี 2 , a และ b เป็นตัวประกอบ

          นิพจน์ 2a(a+b) นับเป็น 1 พจน์มี 2, a และ (a+b) เป็นตัวประกอบ

          นิพจน์ (a+b)(a-b) นับเป็น 1 พจน์มี (a+b) และ (a-b) เป็นตัวประกอบ

          นิพจน์ 2aa+b นับเป็น 2 พจน์คือ 2aa และ b

          นิพจน์ a2-b2 นับเป็น 2 พจน์คือ a2 และ b2

ดังนั้นเมื่อเราพิจารณาการคำนวณ

ตัวอย่างที่ 1 5 + 12/4 + 4/2x2 + 1x3

นับเป็น 4 พจน์ได้แก่ 5, 12/4 = 3, 4/2x2 = 4 และ 1x3 = 3 จะได้

5 + 12/4 + 4/2x2 + 1x3 = 5 + 3 + 4 + 3 = 15

ตัวอย่างที่ 2 5 + 2[1 - 2(3 - 5) - 12/2]

นับเป็น 2 พจน์คือ 5 และ 2[1 - 2(3 - 5) - 12/2]                           

พิจารณานิพจน์ 2[1 - 2(3 - 5) - 12/2] มี 2 ตัวประกอบคือ 2 และ 1 - 2(3 - 5) - 12/2

พิจารณานิพจน์ 1 - 2(3 - 5) - 12/2 นับเป็น 3 พจน์คือ 1, -2(3-5) และ -12/2

เมื่อคำนวณย้อนกลับจะได้

5 + 2[1 - 2(3 - 5) - 12/2] = 5 + 2[1 - 2(-2) - 6] = 5 + 2[1 + 4 - 6] = 5 + 2[-1] 5 + (-2) = 3

1.2.2 ตัวดำเนินการบวกและคูณ ตัวดำเนินการในระบบพีชคณิตนั้นเรากำหนดไว้เพียงตัวดำเนินการบวกเพื่อใช้นับจำนวนพจน์ และตัวดำเนินการคูณไว้สำหรับดูตัวประกอบ ซึ่งการลบนั้นถูกนิยามเป็นการบวกด้วยจำนวนลบ ในขณะเดียวกับการหารถูกนิยามเป็นการคูณด้วยตัวส่วนผกผันเช่น 2 – 5 = 2 + (-5) และ 2/5 = 2 x (1/5) เป็นต้น

          หลักการของการบวกในระบบพีชคณิตคือพจน์ที่สามารถนำมาบวกหรือลบกันได้พจน์นั้นจะต้องเป็นพจน์ที่คล้ายกัน ซึ่งถูกนิยามศัพท์ไว้ว่า เป็นพจน์ที่มีชุดตัวแปรเหมือนกันตัวอย่างเช่น

          2x + 3x นิพจน์นี้ประกอบด้วยพจน์ 2 พจน์ที่มีตัวแปร x เหมือนกันดังนั้น 2x และ 3x เป็นพจน์ที่คล้ายกันเขียนเป็นรูปแบบอย่างง่ายได้ดังนี้

                                                2x + 3x = 5x

          2x + 3y นิพจน์นี้ประกอบด้วยพจน์ 2 พจน์ที่มีตัวแปร x และ พจน์ที่มีตัวแปร y ดังนั้น 2x และ 3y ไม่เป็นพจน์ที่คล้ายกัน ไม่สามารถรวมพจน์ได้

          x2 + 3y - 3x2 + 7y + 4 นิพจน์นี้ประกอบด้วยพจน์ 5 พจน์โดยที่มีพจน์ที่คล้ายกัน 2 คู่คือ x2,  -3x2 และ  3y, 7y สามารถรวมพจน์ในรูปอย่างง่ายได้ดังนี้

         x2 + 3y - 3x2 + 7y + 4 = -2x2 + 10y + 4

1.2.3 พหุนามตัวแปรเดียว       

          พหุนามตัวแปรเดียวดีกรี n หมายถึงนิพจน์ที่เขียนในรูปของผลบวกของชุดตัวแปร {1, x, x2, x3, …, xn} โดยที่มีค่าสัมประสิทธิ์ a0, a1, a2, …, an เป็นค่าคงที่หน้าตัวแปร โดยที่  an ไม่เป็นศูนย์

          P(x) = anxn + an-1xn-1 + … + a1x + a0

ตัวอย่าง

พหุนามดีกรี 1 := x – 5

แยกชุดสัมประสิทธิ์ (1, -5) ออกจาก ชุดตัวแปร (x, 1)

พหุนามดีกรี 2 := y2 + 8y – 9

แยกชุดสัมประสิทธิ์ (1, 8, – 9) ออกจากชุดตัวแปร (y2, y, 1) 

พหุนามดีกรี 3 := a3 - 2a + 1

แยกชุด (1, 0, -2, 1) ออกจากชุดตัวแปร (a3, a2, a, 1)

การบวกและลบพหุนาม สมมติให้ p เป็นพหุนามดีกรี m และ q เป็นพหุนามดีกรี n แล้ว

deg(p+q) น้อยกว่าหรือเท่ากับ max{ deg(p), deg(q) }

ตัวอย่างที่ 3 เช่น (4x2 + 2x + 3) + (5x3 - 7x + 8) จะเห็นว่าผลบวกมีดีกรีไม่เกิน 3 ชุดแยกสัมประสิทธิ์ออกจากชุดตัวแปร (x3, x2, x, 1) จะได้

ดังนั้น  (4x2 + 2x + 3) + (5x3 - 7x + 8) = 5x3 + 4x2 - 5x + 11

ตัวอย่างที่ 4 (4x2 + 2x + 3) - (5x3 - 7x + 8)

ดังนั้น  (4x2 + 2x + 3) - (5x3 - 7x + 8) = -5x3 + 4x2 + 9x – 5

การคูณพหุนาม สมมติให้ p เป็นพหุนามดีกรี m และ q เป็นพหุนามดีกรี n แล้ว

deg(pq) เท่ากับ deg(p) + deg(q)

ตัวอย่างที่ 5 (4x2 + 2x + 3)(5x3 - 7x + 8) จะเห็นว่าผลคูณมีดีกรี 2+3 = 5 ชุดตัวแปรของคำตอบคือ (x5, x4, x3, x2, x, 1) จะได้

ดังนั้น (4x2 + 2x + 3)(5x3 - 7x + 8) = 20x5+10x4        -13x3+18x2-5x+24

แหล่งที่มา

Skvarcius R., Robinson W.B. (1986). Discrete mathematics with computer science applications. The Benjamin/Cummings Publishing Company.

 


Return to contents

           1.1 การแยกตัวประกอบอย่างง่าย

          ในการคำนวณทางพีชคณิตมีนิพจน์ผลบวกหรือผลต่างบางนิพจน์ที่สามารถเขียนให้อยู่ในรูปผลคูณทำให้ได้นิพจน์ที่มีเพียงพจน์เดียวซึ่งอยู่ในรูปที่ง่ายกว่ายิ่งไปกว่านั้นอาจจำนวนครั้งในการคำนวณลดน้อยลงเช่น

          ax + bx + cx = (a + b + c)x

          จำนวนครั้งในการคำนวณลดลง 5 – 3 = 2

                                                a3 + 3a2 + 3a +1 = (a+1)3

          จำนวนครั้งในการคำนวณลดลง 8 – 3 = 5

 ในบทเรียนนี้นำเสนอวิธีการแยกตัวประกอบสามวิธีได้แก่วิธีดึงตัวร่วม วิธีผลต่างกำลังสอง และ วิธีแยกตัวประกอบพหุนามกำลังสองที่มีสามพจน์

1.3.1 วิธีดึงตัวร่วม หลักการคือจะต้องหาตัวหารร่วมมากของพจน์ในนิพจน์โดยพิจารณาจากค่าคงที่และตัวแปรแต่ละตัวแปร

ตัวอย่างที่ 6 10x2y2 + 6xy2 - 8x2y3  นิพจน์มีจำนวน 3 พจน์ 10x2y2, 6xy2 และ -8x2y3

หา หรม.         

10556 11

แยกตัวประกอบได้ดังนี้ 10x2y2 + 6xy2 - 8x2y3  = 2xy2(5x + 3 - 4xy)

ตัวอย่างที่ 7 2x(a + 2b) – (a + 2b)7y   นิพจน์มีจำนวน 2 พจน์คือ 2x(a+2b), – (a+2b)7y   

หรม. คือ                            

แยกตัวประกอบได้ดังนี้ (a + 2b) (2x – 7y)   

1.3.2 แยกตัวประกอบด้วยผลต่างกำลังสอง หลักการนี้จะใช้ได้ก็ต่อเมื่อในนิพจน์มี 2 พจน์ที่อยู่ในรูปของผลต่างจากนั้นเขียนแต่ละพจน์ให้อยู่ในรูปกำลังสองเพื่อใช้สูตร x2 - y2=(x - y)(x + y)

ตัวอย่างที่ 8 25a2 – 16b2   นิพจน์มีจำนวน 2 พจน์คือ 25a2 และ 16b2 เขียนในรูปกำลังสองได้เป็น (5a)2 และ (4b)2 แยกตัวประกอบได้ดังนี้

25a2 – 16b2 = (5a)2 - (4b)2 = (5a - 4b)(5a + 4b)

ตัวอย่างที่ 9 81a4 – 1   นิพจน์มีจำนวน 2 พจน์คือ 81a4 และ 1 เขียนในรูปกำลังสองได้เป็น (9a2)2 และ (1)2 แยกตัวประกอบได้ดังนี้

81a4 – 1 = (9a2)2 - (1)2 = (9a2 - 1)( 9a2 + 1) = (3a - 1)(3a + 1) ( 9a2 + 1)

1.3.3 ตัวประกอบพหุนามกำลังสองตัวแปรเดียว ในบทเรียนนี้จะให้วิธีการคาดการณ์ตัวเลขซึ่งจะใช้กับนิพจน์บางรูปแบบเท่านั้น ก่อนอื่นเราพิจารณา พหุนามกำลังสองตัวแปรเดียวในรูปทั่วไปนั้นคือ ax2 + bx + c โดยที่ a ไม่เป็นศูนย์ พิจารณา

ax2 + bx + c   = ax2 + (p+q)x +c

= g1x(ax/g1 + p/g1) + g2(qx/g2 +c/g2)

โดยที่ g1 = หรม.(a,p) และ g2 = หรม.(q,c)

ถ้ากำหนดให้ a/g1=q/g2 และ p/g1=c/g2  จะได้ว่า pq = ac ทำให้เราสามารถดึงตัวร่วมได้ ดังนั้น

ax2 + bx + c   = (g1x + g2)(ax/g1 + p/g1)

สรุปได้เป็นทฤษฎีดังนี้

ถ้า pq = ac และ p+q = -b แล้ว ax2 + bx + c   = (g1x + g2)(ax/g1 + p/g1)

เมื่อ g1 = หรม.(a,p) และ g2 = หรม.(q,c)

ตัวอย่างการประยุกต์ใช้

ตัวอย่างที่ 10 จงแยกตัวประกอบ 3x2 + 10x – 25

จากทฤษฎีจะได้ pq = -75 และ p+q = -10  จะได้ว่า p = -15 และ q = 5

                              3x2 + 10x – 25 = 3x2 - 15x + 5x – 25

                                                 = 3x(x - 5) + 5(x - 5)

                                                 = (3x + 5)(x - 5)

ตัวอย่างที่ 11 จงแยกตัวประกอบ 9x2 - 43x – 10

จากทฤษฎีจะได้ pq = -90 และ p+q = 43  จะได้ว่า p = 45 และ q = -2

                              9x2 - 43x – 10 = 9x2 + 45x -2x – 10

                                                 = 9x(x + 5) -2(x + 5)

                                                 = (9x - 2)(x + 5)

 แหล่งที่มา

Skvarcius R., Robinson W.B. (1986). Discrete mathematics with computer science applications. The Benjamin/Cummings Publishing Company.

 


Return to contents

          ข้อความที่แสดงความสัมพันธ์การเปรียบเทียบเชิงปริมาณในคณิตศาสตร์ได้แก่การเท่ากัน ( = ) และ การไม่เท่ากัน (≠) ในกรณีที่ไม่เท่ากันนั้นเรายังสามารถเปรียบเทียบได้ว่าปริมาณแรกนั้นมากกว่า ( > ) หรือน้อยกว่า (<) ปริมาณที่สอง เมื่อพิจารณานิเสธกล่าวถึงปริมาณที่ไม่มากกว่าจะหมายถึงปริมาณที่มีค่าน้อยกว่า หรือ ปริมาณที่มีค่าเท่ากัน เรียกว่า น้อยกว่าหรือเท่ากับ  (≤) ในทำนองเดียวกันปริมาณที่ไม่น้อยแทนได้ด้วยมากว่าหรือเท่ากับ (≥) ในกรณีที่ข้อความของเรามีตัวแปรไม่ทราบค่าหนึ่งตัวแปรแสดงการเท่ากันเมื่อเขียนเป็นประโยคสัญลักษณ์เราจะเรียกประโยคสัญลักษณ์ชนิดนี้ว่า สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว แต่หากเป็นการแสดงการไม่เท่ากันไม่ว่าจะเป็น ไม่เท่ากับ มากกว่า น้อยกว่า มากกว่าหรือเท่ากับ น้อยกว่าหรือเท่ากับ เราจะเรียกว่าอสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว

1.4.1 หลักการแก้สมการและอสมการ

          สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียวคือสมการที่อยู่ในรูป ax + b = 0 โดยที่ a และ b เป็นค่าคงที่ เรียก x ว่าตัวแปร หากเราเขียนสมการให้อยู่ในรูปข้างต้น เราจะสรุปได้ว่า x = -b/a เป็นคำตอบของสมการเนื่องจากเมื่อนำ –b/a ไปแทนค่าในสมการแล้วทำให้สมการเป็นจริง

          หลักการแก้สมการตั้งอยู่บนรากฐานความจริงที่ว่า หากเรามีตาชั่งแขวนที่เดิมมีวัตถุสองข้างที่หนักเท่ากันอยู่ เมื่อเราเพิ่มวัตถุชิ้นที่สามที่มีปริมาณเท่ากันลงไปทั้งสองข้าง ตาชั่งจะยังคงสมดุลเหมือนเดิม ถ้าเราสมมติให้ วัตถุสองชิ้นแรกคือ a และ b ให้ c เป็นวัตถุชิ้นที่สามแล้วจะได้ว่า

ถ้า a = b แล้ว a + c = b + c

ในทำนองเดียวกันหากเราเอาปริมาณชิ้นที่หนึ่งออก c หน่วย และเอาปริมาณชิ้นที่สองออก c หน่วยเช่นกันแน่นอนว่าตาชั่งของเราจะยังคงสมดุลนั้นคือ

ถ้า a = b แล้ว a - c = b - c

พิจารณาการดำเนินการต่อมา เนื่องจาก a และ b มีขนาดเท่ากันถ้าเรานำ a เพิ่มทางซ้าย และ b เพิ่มทางขวาจำนวน k ครั้งตาชั่งของเราจะยังคงสมดุล

ถ้า a = b แล้ว ka = kb

ยังรวมไปถึงการพิจารณาในเชิงสัดส่วนหรือการหารโดยที่ตัวหารต้องไม่เป็นศูนย์นั้นคือ

ถ้า a = b แล้ว a/k = b/k

สำหรับอสมการ อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียวอาจอยู่ในรูป ax + b ≠  0 นั้นคือ ax + b < 0  หรือ ax + b > 0 รวมถึง ax + b ≤  0 และ ax + b ≥ 0 สำหรับการบวกหรือลบทั้งสองข้างของอสมการด้วยจำนวนที่เท่ากันจะเป็นแบบเดียวกันกับสมการนั้นคือ เมื่อเพิ่มเข้า หรือ นำออกเท่ากับทั้งสองข้างตาชั่งจะยังคงอยู่ในสภาพเดิม

ถ้า a < b แล้ว a + c < b + c

ถ้า a < b แล้ว a - c < b - c

แต่สำหรับการคูณ และการหารเราจำเป็นต้องแยกเป็นสองกรณีคือ กรณีที่ตัวคูณเป็นจำนวนบวก และกรณีที่ตัวคูณเป็นจำนวนลบ ซึ่งกรณีที่ตัวคูณเป็นจำนวนบวก ตัว 2 > 3 เมื่อคูณด้วย 5 ทั้งสองข้างจะได้ 10 > 15 แต่หากเป็นการคูณด้วยจำนวนลบจะได้ -10 < -15 พบว่าเครื่องหมายอสมการจะกลับข้าง

ถ้า a < b และ k<0 แล้ว ka < kb

ถ้า a < b และ k>0 แล้ว ka > kb

1.4.2 วิธีแก้สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว

วิธีการแก้สมการนั้นให้หลักการบวก (ลบ) หรือ คูณ (หาร) เข้าไปทั้งสองข้างของสมการ

สมการที่อยู่ในรูป ax + b = 0

ขั้นตอนที่ 1 กำจัดพจน์ที่ไม่มีตัวแปรคือ b โดยการบวกด้วยจำนวนตรงกันข้ามคือ –b

ax + b + (-b) = 0 + (-b)

       ax = -b

ขั้นตอนที่ 2 กำจัดสัมประสิทธิ์ที่คูณอยู่กับตัวแปรคือ a โดยการคูณด้วยตัวผกผันของ a คือ 1/a

(1/a)ax  = (1/a)(-b)

   x  = -b/a

จะเห็นว่าสมการ ax + b = 0 จะมี x = -b/a เป็นคำตอบ

ตัวอย่างที่ 12 4x + 6 = 0 จะได้  x = -6/4 = -3/2

ตัวอย่างที่ 13 4x – 6 = 0 จะได้  x = -(-6)/4 = 6/4 = 3/2

ตัวอย่างที่ 14 -4x + 6 = 0 จะได้  x = -6/(-4) = 6/4 = 3/2

ตัวอย่างที่ 15 -4x – 6 = 0 จะได้  x = -(-6)/(-4) = -6/4 = -3/2

สมการที่อยู่ในรูป ax + b = c

ขั้นตอนที่ 1 กำจัดพจน์ที่ไม่มีตัวแปรคือ b โดยการบวกด้วยจำนวนตรงกันข้ามคือ –b

ax + b + (-b) = c + (-b)

       ax = c - b

ขั้นตอนที่ 2 กำจัดสัมประสิทธิ์ที่คูณอยู่กับตัวแปรคือ a โดยการคูณด้วยตัวผกผันของ a คือ 1/a

(1/a)ax  = (1/a)(c - b)

   x  = (c - b)/a

จะเห็นว่าสมการ ax + b = c จะมี x = (c - b)/a เป็นคำตอบ

ตัวอย่างที่ 16 4x + 6 = 10 จะได้  x = (10 - 6)/4 = 4/4 = 1

ตัวอย่างที่ 17 4x – 6 = 10 จะได้  x = (10 + 6)/4 = 16/4 = 4

ตัวอย่างที่ 18 -4x + 6 = 10 จะได้  x = (10 - 6)/(-4) = 4/(-4) = -1

ตัวอย่างที่ 19 -4x – 6 = 10 จะได้  x = (10 + 6)/(-4) = 16/(-4) = -4

สมการที่อยู่ในรูป ax + b = cx

ขั้นตอนที่ 1 กำจัดพจน์ที่มีตัวแปร x ให้เหลือเพียงพจน์เดียวโดยการบวกด้วย –cx ทั้งสองข้าง 

ax + b + (-cx) = cx + (-cx)

          (a - c)x + b = 0

ขั้นตอนที่ 2 เรารู้ว่า ax + b = 0 จะมีคำตอบในรูป x = -b/a ดังนั้น (a - c)x + b = 0 จะมีคำตอบในรูป

   x  = -b/(a – c)

จะเห็นว่าสมการ ax + b = cx จะมี x = -b/(a - c) เป็นคำตอบ

ตัวอย่างที่ 20 4x + 6 = 10x จะได้  x = -6/(4 - 10) = (-6)/(-6) = 1

ตัวอย่างที่ 21 4x - 6 = 10x จะได้  x = 6/(4 - 10) = 6/(-6) = -1

ตัวอย่างที่ 22 -4x + 6 = 10x จะได้  x = -6/(-4 - 10) = 6/14 = 3/7

ตัวอย่างที่ 23 -4x - 6 = 10x จะได้  x = 6/(-4 - 10) = 6/(-14) = - 3/7

สมการที่อยู่ในรูป ax + b = cx + d

ขั้นตอนที่ 1 กำจัดพจน์ที่มีตัวแปร x ให้เหลือเพียงพจน์เดียวโดยการบวกด้วย –cx ทั้งสองข้าง พร้อมกำจัดสัมประสิทธิ์ b ด้วยการบวกด้วย –b ทั้งสองข้างจะได้

(-cx) + ax + b + (-b) = (-cx) + cx + d + (-b)

            (a - c)x = d - b

ขั้นตอนที่ 2 กำจัดสัมประสิทธิ์ที่คูณอยู่กับตัวแปรโดยการคูณด้วยตัวผกผันของ (a – c) คือ 1/(a – c)

(1/(a - c)) (a - c)x  = (1/(a-c)) (c - b)

   x  = (c - b)/(a - c)

จะเห็นว่าสมการ ax + b = cx + d จะมี x = (d-b)/(a-c) เป็นคำตอบ

ตัวอย่างที่ 24 4x + 6 = 10x + 12 จะได้  x = (12 – 6)/(4 - 10) = (6)/(-6) = -1

ตัวอย่างที่ 25 4x - 6 = -10x + 12  จะได้  x = (12 + 6)/(4 + 10) = 18/14 = 9/7

ตัวอย่างที่ 26 4x - 6 = 10x - 12 จะได้  x = (-12 + 6)/(-4 + 10) = (-6)/(-6) = -1

ตัวอย่างที่ 27 -4x - 6 = -10x + 12 จะได้  x = (12+6)/(-4 + 10) = 18/(-14) = - 9/7

แหล่งที่มา

Skvarcius R., Robinson W.B. (1986). Discrete mathematics with computer science applications. The Benjamin/Cummings Publishing Company.

 


Return to contents

1.4.3 วิธีแก้อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว

ในทำนองเดียวกันสำหรับอสมการ

อสมการที่อยู่ในรูป ax + b < 0

กรณีที่ a > 0 จะได้ x < -b/a เช่น 2x – 6 < 0 จะได้ x < 6/2 = 3

กรณีที่ a < 0 จะได้ x > -b/a เช่น -2x - 6 < 0 จะได้ x > 6/2 = 3

อสมการที่อยู่ในรูป ax + b < c

กรณีที่ a > 0 จะได้ x < (c - b)/a เช่น 2x + 6 < 8 จะได้ x < (8 – 6)/2 = 1

กรณีที่ a < 0 จะได้ x > (c – b)/a เช่น -2x + 6 < 8 จะได้ x > (8 – 6)/2 = 1

อสมการที่อยู่ในรูป ax + b < cx + d

กรณีที่ a - c > 0 (a > c) จะได้ x < (d - b)/(a – c) เช่น 3x + 6 < 2x - 4 จะได้ x < (-4 – 6)/(3-2) = -10

กรณีที่ a - c < 0 (a < c) จะได้ x > (d – b)/(a – c) เช่น -3x + 6 < 2x - 4 จะได้ x > (-4 – 6)/(-3 – 2) = 2

  • สมการและอสมการกำลังสองตัวแปรเดียว

สมการกำลังสองตัวแปรเดียวคือสมการที่อยู่ในรูป ax2 + bx + c = 0 เมื่อ a, b และ c เป็นค่าคงที่ สำหรับอสมการสมกำลังสองตัวแปรเดียวจะอยู่ในรูป ax2 + bx + c  0 รวมถึง < , > ,  ,  อย่างไรก็ตามโดยหลักการพหุนามกำลังสองจะมีค่ารากสองรากเสมอนั้นคือ

P(x) = ax2 + bx + c = (px + q)(rx + s)

1.5.1 หลักการแก้สมการและอสมการ

          หลักการแก้สมการและอสมการกำลังสองนั้นมีหลักการพื้นฐานจากทฤษฎีบทต่อไปนี้

ทฤษฎีบท ถ้า ab = 0 แล้ว a = 0 และ b = 0

ทฤษฎีบท ถ้า ab < 0 แล้ว โดยไม่เสียนัยยะทั่วไป a > 0 และ b < 0

ทฤษฎีบท ถ้า ab > 0 แล้ว (a < 0 และ b < 0) หรือ (a > 0 และ b > 0)

1.5.2 วิธีแก้สมการกำลังสองตัวแปรเดียว

พิจารณาคำตอบของสมการ ax2 + bx + c = 0 สมการดังกล่าวอาจมีคำตอบเป็นจำนวนจริงสองคำตอบ มีเพียงคำตอบเดียว หรือ ไม่มีคำตอบที่เป็นจำนวนจริงก็ได้ เราสามารถพิจารณาได้ค่า discriminant

จาก ax2 + bx + c = 0 นำ a หารตลอดสมการและเขียนนิพจน์ทางซ้ายมือในรูปกำลังสองสมบูรณ์

x2 + (b/a)x + c/a = 0

(x + b/2a)2 = b2/4a2 – c/a = (b2 – 4ac)/(4a2)

สังเกตว่านิพจน์ทางซ้ายมือถูกยกกำลังสองมีค่ามากกว่า หรือ เท่ากับศูนย์

กรณีที่ b2 – 4ac < 0 สมการไม่มีคำตอบเป็นจำนวนจริง

กรณีที่ b2 – 4ac = 0 สมการมีคำตอบเป็นจำนวนจริงเพียงคำตอบเดียวคือ -b/2a

กรณีที่ b2 – 4ac > 0 สมการมีคำตอบเป็นจำนวนจริงสองคำตอบคือ

(–b - sqrt{b2-4ac})/(2a) และ (–b + sqrt{b2-4ac})/(2a)

ตัวอย่างที่ 28 จงหาคำตอบที่เป็นจำนวนจริงสำหรับสมการ 2x2 – 3x + 5 = 0

พิจารณา discriminant = (-3)2 – 4(2)(5) = 9 – 40 = -36 < 0 ดังนั้นสมการนี้ไม่มีคำตอบที่เป็นจำนวนจริง  

ตัวอย่างที่ 29 จงหาคำตอบที่เป็นจำนวนจริงสำหรับสมการ 2x2 – 4x + 2= 0

พิจารณา discriminant = (-4)2 – 4(2)(2) = 16 – 16 = 0 < 0 ดังนั้นสมการคำตอบเป็นจำนวนจริงเพียงคำตอบเดียวซึ่ง x = -(-4)/(2x2) = 1 เป็นคำตอบของสมการ

ตัวอย่างที่ 30 จงหาคำตอบที่เป็นจำนวนจริงสำหรับสมการ 2x2 – 3x – 5 = 0

พิจารณา discriminant = (-3)2 – 4(2)(-5) = 9 + 40 = 49 < 0 ดังนั้นสมการนี้มีคำตอบเป็นจำนวนจริงสองคำตอบคือ (3+7)/(2x2) และ (3-7)/(2x2) ดังนั้น {5/2, -1} เป็นคำตอบที่เป็นจำนวนจริงของสมการ

1.5.3 วิธีแก้อสมการกำลังสองตัวแปรเดียว

ในการพิจารณาคำตอบของอสมการในที่นี้ผู้เขียนจะศึกษาเพียงสองกรณีเป็นตัวอย่างได้แก่ ax2 + bx + c < 0 และ ax2 + bx + c > 0 สำหรับกรณีอื่นนั้นสามารถพิจารณาได้ในทำนองเดียวกัน นอกจากนี้การจัดรูปอสมการจะกล่าวถึงกรณีที่ a > 0 เท่านั้นเราสามารถจัดรูปตามเงื่อนไขได้ก่อนแก้สมการเสมอ

จาก ax2 + bx + c < 0 นำ a > 0 หารตลอดอสมการและเขียนนิพจน์ทางซ้ายมือในรูปกำลังสองสมบูรณ์

x2 + (b/a)x + c/a < 0

(x + b/2a)2 < b2/4a2 – c/a = (b2 – 4ac)/(4a2)

ถ้า discriminant < 0 แล้ว (x + b/2a)2  - (b2 – 4ac)/(4a2) < 0 ไม่มีค่า x ที่เป็นจำนวนจริงสอดคล้องกับอสมการดังนั้นอสมการนี้ไม่มีคำตอบ ( จำนวนบวก + จำนวนบวก ผลลัพธ์เป็น จำนวนบวก )

ถ้า discriminant = 0 จะได้ (x + b/2a)2 < 0 จะเห็นได้ว่าไม่มีคำตอบที่เป็นจำนวนจริงเช่นเดียวกันกับกรณีข้างต้น

ถ้า discriminant > 0 สมมติให้ r = (–b - sqrt{b2-4ac})/(2a) และ s = (–b + sqrt{b2-4ac})/(2a) จะได้ว่า (x - r)(x - s) < 0 แต่ r < s นั้นคือ  x – r > 0 แต่ x – s < 0 สรุปได้ว่า r < x < s เป็นคำตอบของอสมการ  หมายเหตุ กรณี x – r  < 0 และ x – s > 0 เป็นไปไม่ได้เพราะ  s < x < r เกิดข้อขัดแย้งกับ r < s

ตัวอย่างที่ 31 จงหาคำตอบที่เป็นจำนวนจริงสำหรับสมการ 2x2 – 3x – 5 < 0

พิจารณา discriminant = (-3)2 – 4(2)(-5) = 9 + 40 = 49 < 0 จะได้ค่า r = (3-7)/(2x2) = -1 และ s = (3+7)/(2x2) = 5/2 และ  ดังนั้น คำตอบของอสมการคือ { จำนวนจริง x, -1 < x < 5/2 }

จาก ax2 + bx + c > 0 นำ a > 0 หารตลอดอสมการและเขียนนิพจน์ทางซ้ายมือในรูปกำลังสองสมบูรณ์

x2 + (b/a)x + c/a > 0

(x + b/2a)2 > b2/4a2 – c/a = (b2 – 4ac)/(4a2)

ถ้า discriminant < 0 แล้ว (x + b/2a)2  - (b2 – 4ac)/(4a2) > 0 ไม่ว่า x เป็นจำนวนจริงใด ๆย่อมสอดคล้องกับอสมการเสมอดังนั้นอสมการนี้มีคำตอบเป็นเซตของจำนวนจริง ( จำนวนบวก + จำนวนบวก ผลลัพธ์เป็น จำนวนบวก )

ถ้า discriminant = 0 จะได้ (x + b/2a)2 > 0 จะเห็นได้ว่าเซตจำนวนจริงใดที่ไม่ใช่ –b/2a อาจกล่าวได้ว่า x  ≠ -b/2a เป็นคำตอบของอสมการ

ถ้า discriminant > 0 สมมติให้ r = (–b - sqrt{b2-4ac})/(2a) และ s = (–b + sqrt{b2-4ac})/(2a) จะได้ว่า (x - r)(x - s) > 0 และ r < s นั้นคือ  

(x – r < 0 และ x – s < 0)  หรือ (x – r > 0 และ x – s > 0)

   ( x < r และ x < s) หรือ ( x > s และ x > r )

(x < r) หรือ (x > s)

สรุปได้ว่า x < r หรือ x > s เป็นคำตอบของอสมการ

ตัวอย่างที่ 32 จงหาคำตอบที่เป็นจำนวนจริงสำหรับสมการ 2x2 – 3x – 5 > 0

พิจารณา discriminant = (-3)2 – 4(2)(-5) = 9 + 40 = 49 < 0 จะได้ค่า r = (3-7)/(2x2) = -1 และ s = (3+7)/(2x2) = 5/2 และ  ดังนั้น คำตอบของอสมการคือ { จำนวนจริง x, x < -1 หรือ x > 5/2 }

แหล่งที่มา

Skvarcius R., Robinson W.B. (1986). Discrete mathematics with computer science applications. The Benjamin/Cummings Publishing Company.


Return to contents

 1.6.2 คุณสมบัตินิพจน์เชิงสัดส่วน

สมมติให้ A, B, C, D และ E เป็นพหุนามใด ๆที่เมื่อถูกเขียนเป็นตัวส่วนแล้วมีค่าไม่เท่ากับศูนย์แล้ว

สมบัติข้อที่ 1 สมบัติการเท่ากัน

A/B = C/D ก็ต่อเมื่อ AD = BC

ตัวอย่างที่ 35

(x + y)/(x – y) = 2/3 โดยที่ x ไม่เท่ากับ y

จากสมบัติการเท่ากันจะได้

3(x + y) = 2(x – y)

สรุปได้ว่า x = -5y

สมบัติข้อที่ 2 สมบัติการลดรูปอย่างง่าย

PK/QK = P/Q

สอดคล้องกับตัวอย่างที่ 34

สมบัติข้อที่ 3 สมบัติการบวกและการลบ

P/Q + R/S = (PS + QR)/(QS)

P/Q – R/S = (PS – QR)/(QS)

ตัวอย่างที่ 36

                    5/(x + y) + (x + 2)/(x – y) = [5(x – y) + (x + y)(x + 2)]/[(x – y)(x + y)]

                                                    = [5x – 5y + x2 + 2x +xy + 2y]/[x2 – y2]

    = [x2 + xy + 7x – 3y]/[x2 – y2]

ตัวอย่างที่ 37

                    5/(x + y) – (x + 2)/(x – y) = [5(x – y) + (x + y)(x – 2)]/[(x – y)(x + y)]

                                                    = [5x – 5y + x2 – 2x +xy – 2y]/[x2 – y2]

    = [x2 + xy + 3x – 7y]/[x2 – y2]

สมบัติข้อที่ 4 สมบัติการคูณและการหาร

(P/Q)(R/S) = (PR)/(QS)

(P/Q)/(R/S) = (PS)/(QR)

ตัวอย่างที่ 38

                    [(x – y)/(x + y)][(x – 1)/(x + 1)] = [(x – y)(x – 1)]/[(x + y)(x + 1)]

                                                    = [x2 – xy – x + y]/[x2 + xy + x + y]

ตัวอย่างที่ 39

                    [(x – y)/(x + y)]/[(x – 1)/(x + 1)] = [(x – y)(x + 1)]/[(x + y)(x – 1)]

                                                    = [x2 – xy + x – y]/[x2 + xy – x – y]

แหล่งที่มา

Skvarcius R., Robinson W.B. (1986). Discrete mathematics with computer science applications. The Benjamin/Cummings Publishing Company.


Return to contents
Previous Page 1 / 6 Next Page
หัวเรื่อง และคำสำคัญ
พีชคณิต, จำนวนจริง, นิพจน์เขิงพีชคณิต, การแยกตัวประกอบ, สมการและอสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว, สมการและอสมการกำลังสอง, นิพจน์เชิงสัดส่วน,
ประเภท
Text
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
วันที่เสร็จ
วันศุกร์, 13 กันยายน 2562
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
วีระ ยุคุณธร
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
คณิตศาสตร์
ระดับชั้น
ม.3
ช่วงชั้น
มัธยมศึกษาตอนต้น
กลุ่มเป้าหมาย
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 10556 พีชคณิตระดับมัธยมศึกษาตอนต้น /lesson-mathematics/item/10556-2019-08-28-02-15-56
    คลิ๊กเพื่อติดตาม
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    คะแนนเฉลี่ย
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

คุณอาจจะสนใจ
Recently added
  • e-poster ปรากฏการณ์เรือนกระจกของโลก...
  • มาทำความรู้จักกับ Beacon Technology เทคโนโลยีแห่งอนาคต...
  • สิ่งที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตและการดำรงชีวิตของมนุษย์และสัตว์...
  • วัฏจักรการปรากฏของดาว...
  • พิท แพท ผจญภัย...
อ่านต่อ..

ค้นหาบทเรียน

กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทเรียนทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)